รักษาสิว ฝ้า และโรคผิวหนังทุกโรค
Mar 8, 2024
0
min read

ทำความเข้าใจ สิวฮอร์โมน กับวิธีรักษา กู้ผิวหน้าคืนความมั่นใจ

ทำความเข้าใจ สิวฮอร์โมน กับวิธีรักษา กู้ผิวหน้าคืนความมั่นใจ

สรุปใจความสำคัญ

  • สิวฮอร์โมนเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนในร่างกาย
  • สิวฮอร์โมนสามารถเป็นได้ทั้งสิวอักเสบและสิวไม่อักเสบ
  • สิวฮอร์โมนในวัยรุ่นมักพบบริเวณ T-zone
  • สิวฮอร์โมนในวัยทำงานมักพบบริเวณกรอบหน้า
  • สิวฮอร์โมนสามารถพบได้ในบริเวณอื่นของร่างกาย โดยเฉพาะ แผ่นหลัง ท้ายทอย และต้นแขน
  • วิธีการรักษาสิวฮอร์โมนเหมือนกับการรักษาสิวทั่วไป โดยสามารถรักษาได้ด้วยยากิน ยาทา การรักษาความสะอาด และหัตถการอย่าง Dermalight และเลเซอร์
  • เลเซอร์ที่ได้รับของบ่งชี้ว่า ควรใช้ในการรักษาปัญหาสิวฮอร์โมน คือเลเซอร์ ADVATX

ทำความรู้จักกับ “สิวฮอร์โมน”

สิวฮอร์โมน คือสิวที่เกิดขึ้นจากระดับความแปรปรวนของฮอร์โมน ประเภทของสิวฮอร์โมนก็มีทั้งสิวอักเสบและสิวอุดตัน ฮอร์โมนหลัก ๆ เกี่ยวข้องกับเกิดสิวฮอร์โมนก็คือ เอสโตรเจน (Estrogen) และ เทสโทสเตอโรน (Testosterone) ค่ะ และเรารู้กันดีว่าช่วงวัยรุ่นเป็นช่วงที่ระดับฮอร์โมนเหล่านี้มีความแปรปรวนสูงมาก หนุ่มสาว ๆ ในช่วงวัยรุ่นส่วนใหญ่จึงมีมักปัญหาสิวฮอร์โมนค่ะ

แต่นอกจากคนที่อยู่ในช่วงวัยรุ่น สาว ๆ ที่ยังมีรอบอยู่ก็เดือนอยู่ก็อาจมีปัญหาสิวฮอร์โมนได้ค่ะ โดยสิวฮอร์โมนมักจะมาในช่วง 1 สัปดาห์ก่อนรอบประจำเดือน และจะมาในช่วงที่เรามีความเครียดสูงค่ะ 

สิวฮอร์โมน เป็นแบบไหน

เราจะรู้ได้อย่างไรว่า สิวที่ขึ้นเป็นสิวฮอร์โมนหรือไม่ ลองสังเกตตัวเองได้ ดังนี้ค่ะ

  • สิวฮอร์โมนมักจะขึ้นในช่วง 1 สัปดาห์ก่อนมีประจำเดือน หรือที่เรียกว่าช่วง PMS (Premenstrual Syndrome)
  • สิวฮอร์โมนมักมาในช่วงเวลาที่ร่างกายได้รับการพักผ่อนไม่เพียงพอ หรือเวลาที่มีความเครียดสูง
  • สิวฮอร์โมนมักจะมาเป็นในรูปแบบของ ‘breakout’ หรือสิวเห่อ ที่มาทั้งสิวอักเสบและสิวอุดตัน
  • สิวฮอร์โมนมักจะเกิดบริเวณซ้ำกัน โดยหนุ่มสาวช่วงวัยรุ่นมักจะมีสิวฮอร์โมนที่บริเวณ T-zone และหนุ่มสาววัยทำงาน มักจะมีสิวฮอร์โมนบริเวณคางและกรอบหน้า

ปัจจัยที่ทำให้เกิดสิวฮอร์โมน

เราสรุปได้คร่าว ๆ ว่า ปัจจัยที่ทำให้เกิดสิวฮอร์โมนคือ ความแปรปรวนของเอสโตรเจนและเทสโทสเตอโรน  และความเครียดค่ะ

เอสโตรเจน (Estrogen) และ เทสโทสเตอโรน (Testosterone)

ร่างกายของเรามีทั้งเอสโตรเจน หรือที่บางคนเรียกว่า ฮอร์โมนเพศหญิง และเทสโทสเตอโรน หรือฮอร์โมนเพศชายค่ะ โดยตัวเทสโทสเทอโรนนี่แหละ ที่เป็นตัวการหลักในการเกิดสิวฮอร์โมน ระดับเทสโทสเทอโรนที่สูงทำให้รูขุมขนผลิตน้ำมันออกมามากขึ้น ซึ่งทำให้เป็นสิวได้ง่ายขึ้น ในขณะที่เอสโตรเจนทำหน้าที่ควบคุมการผลิตน้ำมัน ช่วยให้ผิวไม่มันเกินไปค่ะ ในช่วงที่ฮอร์โมนมีความสมดุล สิวฮอร์โมนก็ไม่เกิดค่ะ

สาเหตุที่สิวฮอร์โมนมักจะมาในช่วง 1 สัปดาห์ก่อนมีประจำเดือนเป็นเพราะในช่วงนี้ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนจะลดลง ต่อมน้ำมันใต้ผิวจึงได้รับผลจากเทสโทสเทอโรนอย่างเต็มที่ ทำให้เกิดเป็นสิวฮอร์โมนขึ้นมาค่ะ

ความเครียด

ความเครียดกับสิวฮอร์โมนเป็นของคู่กันค่ะ คนวัยทำงานคงเคยประสบปัญหาสิวฮอร์โมนในช่วงที่งานเยอะหรือพักผ่อนน้อยนะคะ ในช่วงที่เราเผชิญกับความเครียด ร่างกายของเราจะผลิตฮอร์โมนคอร์ติซอล (Cortisol) ออกมามาก ฮอร์โมนตัวนี้ โดยปกติแล้วคอร์ติซอลจะสูงในช่วงเช้าหลังจากที่เราตื่นนอน เพื่อเตรียมร่างกายให้พร้อมกับกิจกรรมต่าง ๆ ในแต่ละวันค่ะ

แต่เมื่อเราอยู่ในภาวะเครียด หรือมีการพักผ่อนไม่เพียงพอ ร่างกายจะตอบสนองโดยการผลิตคอลติซอลออกมามากกว่าปกติ ซึ่งคอลติซอลทำให้ผิวหนังผลิตน้ำมันออกมามากขึ้น และยังมีผลในการกดภูมิคุ้มกันซึ่งทำให้แบคทีเรีย P.acnes เติบโตบนผิวหนังเราได้ง่ายขึ้น ส่งผลเป็นสิวฮอร์โมนค่ะ

ภาวะที่อาจทำให้เกิดสิวฮอร์โมน

ภาวะถุงน้ำในรังไข่หลายใบ (Polycystic Ovary Syndrome หรือ PCOS)

เป็นภาวะที่ต่อมไร่ท่อมีความผิดปกติที่พบมากถึง 8-13% ในกลุ่มผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ค่ะ ภาวะ PCOS ทำให้ระดับฮอร์โมนไม่สมดุลและมีการแสดงออกทางอาการที่หลากหลาย อาการที่พบได้บ่อยคือ อาการประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ น้ำหนักขึ้น เป็นสิวฮอร์โมนบ่อย ๆ และอาการ “Hyperandrogenism” หรือ อาการแสดงที่มีฮอร์โมนเพศชายมากเกินไปค่ะ ร่างกายของคนที่มีภาวะ PCOS จะผลิตฮอร์โมนเทสโทสเทอโรนออกมามากกว่าปกติ ทำให้ขนขึ้นตามร่างกายเยอะกว่าปกติโดยเฉพาะบริเวณใบหน้า แขนขา มีผิวมันและมีสิวรุนแรงรักษายากค่ะ

การตั้งครรภ์

ช่วงเวลาตั้งครรภ์เป็นอีกภาวะหนึ่งที่ระดับของฮอร์โมนมีความแปรปรวนสูงนะคะ และยังเป็นช่วงที่ความเครียดสูงไปด้วยทั้งทางร่างกายและจิตใจ จึงทำให้คุณแม่หลาย ๆ คนต้องเจอกับปัญหาสิวฮอร์โมน ซึ่งสิ่งที่จะช่วยแก้ปัญหาได้ก็คือการรักษาความสะอาด ลดความเครียด พักผ่อนให้เพียงพอและปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญค่ะ หมอขอย้ำว่าให้หลีกเลี่ยงการใช้ยารักษาสิวฮอร์โมนด้วยตัวเองเพราะอาจส่งผลต่อการตั้งครรภ์ได้ค่ะ

การใช้ยาประเภทสเตียรอยด์

เนื่องจากยาประเภทสเตียรอยด์มีส่วนในการกดระบบภูมิคุ้มกัน ทำให้แบคทีเรีย P.acnes บนผิวหนังสามารถเติบโตได้อย่างรวดเร็ว จึงทำให้เกิดเป็นสิวฮอร์โมนได้ง่ายค่ะ โดยพบว่า คนที่ใช้สเตียรอยด์เป็นประจำ มักมีสิวฮอร์โมนจำนวนมากขึ้นที่บริเวณแผ่นหลังค่ะ

บริเวณของการเกิดสิวฮอร์โมน

สำหรับสิวฮอร์โมนในช่วงวัยรุ่น ส่วนใหญ่แล้วจะเกิดในพื้นที่ T-zone หรือ บริเวณคาง จมูก และหน้าผาก และสำหรับสิวฮอร์โมนในผู้ใหญ่ ส่วนมากจะขึ้นบริเวณกรอบหน้าด้านล่าง อย่างเช่น ใต้คางและขากรรไกรค่ะ

บริเวณอื่น ๆ ของร่างกายที่มักเกิดสิวฮอร์โมน ได้แก่ บริเวณท้ายทอย แผ่นหลัง แขนช่วงบน

วิธีรักษาสิวฮอร์โมน

ใช้ยารักษาสิวฮอร์โมน

ยาแบบรับประทานที่ใช้กันในการรักษาสิวฮอร์โมน จะเป็นยาปฏิชีวนะ หรือยาอนุพันธ์วิตามินเอ

  • ยาปฏิชีวนะ เช่น Tetracycline และ Doxycycline ออกฤทธิ์ต่อต้านเชื้อแบคทีเรีย P.acnes บนผิวหนัง มักจะเป็นตัวเลือกแรกที่แพทย์จ่ายให้กับคนที่มีปัญหาสิวค่ะ
  • ยาอนุพันธ์วิตามินเอ หรือ Isotretinoin เป็นยาที่ใช้รักษาสิวที่รุนแรง และสิวที่ไม่ดีขึ้นหลังใช้ยาปฏิชีวนะ แต่ผลข้างเคียงของยาตัวนี้มีมากมายและค่อนข้างรุนแรง จึงจำเป็นต้องมีใบสั่งยาในการซื้อค่ะ

เกร็ดความรู้

ในช่วงวัยรุ่น สาว ๆ อาจจะเคยได้ยินว่ากินยาคุมจะรักษาสิวฮอร์โมนได้ ซึ่งการใช้ยาคุมกำเนิด (Oral contraceptive pills) แบบรายเดือนสามารถลดอาการเกิดสิวฮอร์โมนได้จริงค่ะ เนื่องจากยาคุมกำเนิดแบบรายเดือนจะปรับระดับฮอร์โมนในร่างกายคงที่ แต่ยาคุมกำเนิดก็อาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงได้จึงควรทานเฉพาะถ้ามีข้อบ่งชี้ เช่น ต้องการคุมกำเนิดร่วมด้วย หรือคุณหมอวินิจฉัยแล้วว่ามีภาวะ PCOS และยาคุมไม่เหมาะสำหรับการรักษาสิวฮอร์โมนในหนุ่มๆ เลยค่ะ

อย่างไรก็ตาม ก่อนใช้ยา ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อนนะคะ

แต้มยารักษาสิวฮอร์โมน

ยาแต้มสามารถช่วยรักษาสิวสิวฮอร์โมนได้ โดยยาส่วนใหญ่จะมีส่วนประกอบของ salicylic acid และ benzoyl peroxide หรืออาจจะเป็นยาปฏิชีวนะ (antibiotic) อย่าง clindamycin ค่ะ

  • Salicylic acid มีคุณสมบัติในการช่วยผลัดเซลล์ผิวและควบคุมการผลิตน้ำมันจากต่อมไขมันใต้รูขุมขน ช่วยแก้ปัญหาทั้งสิวฮอร์โมนแบบสิวอุดตันและสิวอักเสบ
  • Benzoyl Peroxide เป็นตัวยาที่ใช้ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย P.acnes ช่วยรักษาสิวอักเสบและป้องกันการเกิดสิวฮอร์โมนใหม่
  • Clindamycin ออกฤทธิ์ต่อต้านเชื้อแบคทีเรีย P.acnes บนผิวหนังค่ะ

ยาแต้มสิวเหล่านี้ส่วนมากจะเป็นยาที่สามารถซื้อได้ over-the-counter หรือซื้อได้แบบไม่ต้องใช้ใบสั่งยา แต่อย่างไรก็ดี หมอแนะนำให้ปรีกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อนใช้จะดีที่สุดค่ะ และยาเหล่านี้อาจทำให้ผิวระคายเคือง และลอกเป็นขุยได้ ฉะนั้นหมอแนะนำว่าควรมีการบำรุงด้วยมอยเจอร์ไรเซอร์อย่างต่อเนื่องด้วยค่ะ

รักษาด้วยการฉายแสง Dermalight

Dermalight เป็นอีกหนึ่งวิธีรักษาผิวหน้าและแก้ปัญหาสิวฮอร์โมนที่มีความเสี่ยงต่ำและไม่เจ็บตัวเลยค่ะ Dermalight ใช้แสงที่ความยาวคลื่นต่างกันในการรักษาผิวหน้า แสงที่ถูกออกมาเพื่อรักษาสิวคือ 1. แสงสีน้ำเงิน (Blue light) ที่ความยาวคลื่นระหว่าง 405-410 นาโนเมตร ซึ่งมีอานุภาพในการทำลายเยื้อหุ้มเซลล์ของแบคทีเรีย P.acnes ทำให้แบคทีเรียตัวนี้ไม่สามารถเพิ่มจำนวนได้ และ 2. แสงสีแดง (Red light) ที่ความยาวคลื่น 630-700 นาโนเมตร มีสรรพคุณในการลดการอักเสบ กระตุ้นการผลิตคอลลาเจน และเร่งกระบวนการสมานแผลค่ะ

รักษาด้วยเลเซอร์

การรักษาผิวหน้าด้วยเลเซอร์เป็นทางเลือกที่ได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ ในปัจจุบันนะคะ เพราะเป็นวิธีที่เห็นผลรวดเร็ว มีความเสี่ยงต่ำ และรักษาปัญหาผิวได้ครอบคลุมค่ะ หลักการทำงานของเลเซอร์ในการรักษาสิวฮอร์โมนก็ง่ายๆ ค่ะ คือ พลังงานจากเลเซอร์จะช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรีย P.acnes ซึ่งเป็นตัวการให้เกิดสิวอักเสบ และช่วยลดการทำงานของต่อมไขมัน (sebaceous gland) ทำให้ผลิดน้ำมันได้น้อยลงค่ะ

เลเซอร์ได้รับข้อบ่งชี้ชัดเจนจาก FDA ว่ามีประสิทธิภาพและปลอดภัยในการรักษาสิวฮอร์โมน เพราะ เลเซอร์ AdvaTx หรือ AdvaLight เป็นเลเซอร์แบบ Dual-wavelenghth หรือสองความยาวคลื่น AdvaTx ปล่อยแสงสีเหลืองที่ความยาวคลื่น 589 นาโนเมตรและอินฟราเรดที่ 1319 นาโนเมตร ซึ่งนอกจากจะมีประสิทธิภาพในการรักษาสิวฮอร์โมนแล้ว AdvaTx ยังเป็นหัตถการที่มีข้อบ่งชี้ในการรักษาปัญหาผิวอีกมากมาย เช่น ปานแดง ไฝแดง ฝ้าเลือด แผลเป็นประเภทหลุมสิว ริ้วรอยรอบดวงตาและรอบปากค่ะ

วิธีป้องกันไม่ให้เกิดสิวฮอร์โมน

จริงอยู่ที่เราไม่สามารถควบคุมการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนได้โดยตรง แต่เรามีวิธีป้องกันไม่ให้เกิดสิวฮอร์โมน และลดความรุนแรงของสิวฮอร์โมนได้ดังนี้ค่ะ

  • พักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อลดความเครียดที่เป็นปัจจัยของการเกิดสิวฮอร์โมน
  • ใช้เครื่องสำอางให้น้อยลง และเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่ไม่อุดตันรูขุมขน
  • ดูแลรักษาความสะอาดของผิวหน้าและผิวกาย
  • เลือกสกินแคร์ที่เหมาะกับผิวหน้าของตัวเอง
  • หากเป็นสิวฮอร์โมนเรื้อรัง หรือรุนแรง ควรปรึกษาแพทย์ผิวหนังเพื่อแผนการรักษาที่จะเหมาะกับคุณที่สุด

วิธีดูแลตัวเองระหว่างมีสิวฮอร์โมน

แม้เราจะดูแลผิวอย่างดีแล้ว บางครั้งบางทีสิวฮอร์โมนก็เป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ค่ะ แต่เราก็มีวิธีดูแลตัวเองระหว่างช่วงที่เป็นสิวฮอร์โมนเพื่อลดการเกิดแผลเป็น และลดความรุนแรงของสิวที่ทำได้ง่าย ๆ ดังนี้ค่ะ

  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสใบหน้าด้วยมือที่สกปรก
  • ไม่แคะ แกะ กด หรือบีบสิว เพราะอาจทำให้เกิดการอักเสบรุนแรง และนำไปสู่การเกิดหลุมสิว
  • แต้มยารักษาสิว เช่น Clindamycin เพื่อระงับการเติบโตของแบคทีเรีย และลดการอักเสบของสิวฮอร์โมน

รักษาสิวฮอร์โมนที่ EY Clinic

  • Acne basic: ทรีตเมนต์กดสิว มาสก์หน้าและทรีตเมนต์บำรุงผิว เริ่มต้นที่ 999 บาท
  • Acne plus: ทรีตเมนต์กดสิว และ dermalight (ทั่วหน้า) เริ่มต้นที่ 1,699 บาท
  • Acne advanced: ทรีตเมนต์กดสิว/มาสก์และทรีตเมนต์บำรุงผิว และ dermalight (ทั่วหน้า) เริ่มต้นที่ 1,999 บาท
  • Acne clearsure รวมทรีตเมนต์กดสิว เลเซอร์ AdvaTx (30 จุด) และ dermalight (ทั่วหน้า) 2,599 บาท

ทุกการรักษาที่ EY Clinic จะถูกดำเนินการโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ มีการให้คำปรึกษาก่อนและหลังการรักษา และมีการติดตามผลการรักษาด้วยค่ะ

กู้ผิวหน้า แก้ปัญหาสิวฮอร์โมนที่ EY Clinic

สำหรับคนที่มีปัญหาสิวฮอร์โมน สิวอุดตัน หรือปัญหาผิวอื่นๆ ที่สร้างความกังวลใจและรักษาไม่หายสักที สามารถเข้ามาปรึกษาที่ EY Clinic ได้ค่ะ เราคือทีมแพทย์ด้านผิวหนัง เวชศาสตร์ความงาม และเวชศาสตร์ฟื้นฟู ที่มีประสบการณ์รวมกับกว่า 30 ปี พร้อมให้คำปรึกษาและรักษาปัญหาทางผิวหนังแบบครอบคลุม โดยจะมุ่งเน้นไปที่ความผลลัพธ์ที่คุณอยากได้ และไม่มีการยัดเยียดทรีตเมนต์ที่ไม่จำเป็นค่ะ แวะมาปรึกษากับหมอผึ้ง และหมอเก่ง ๆ ท่านอื่นได้ที่ EY Clinic ค่ะ

รีวิวจากผู้รับบริการจริง

บทความนี้ได้รับการตรวจความถูกต้องของเนื้อหาโดยแพทย์เฉพาะทางด้านผิวหนังแล้ว

เราอยากให้คุณดูดี และรู้สึกดีทุกวัน
เรามีทรีตเมนต์หลากหลายที่ออกแบบมาเพื่อส่งเสริมสุขภาพโดยรวมของคุณ ตั้งแต่การดูแลผิวไปจนถึงโภชนาการ เรามีทุกสิ่งที่คุณต้องการเพื่อให้คุณรู้สึกดีที่สุด