ตอบคำถามคาใจ สิวสเตียรอยด์ คืออะไร รักษายังไง
ในบทความนี้ เราจะมาทำความรู้จักกับปัญหาสิวไม่เหมือนโรคสิวธรรมดาค่ะ มาดูกันว่า สิวสเตียรอยด์ คืออะไร มีกลไกการเกิดแบบไหน และรักษาได้อย่างไงบ้างค่ะ
สรุปสาระสำคัญ
- สิวสเตียรอยด์ คือ สิวที่เกิดจากการใช้ยากลุ่มสเตียรอยด์ ขึ้นความแรงของตัวยา ปริมาณยาที่ใช้ ระยะเวลาในการใช้ยา และร่างกายของแต่ละบุคคลค่ะ
- สิวสเตียรอยด์มีลักษณะคล้ายโรคสิว แต่มีความแตกต่างชัดเจนที่สิวสเตียรอยด์สามารถเกิดได้กับคนทุกวัยหากมีการใช้ยาสเตียรอยด์ ในขณะที่โรคสิวมักจะเกิดขึ้นในกลุ่มอายุ 12-24 ปี
- สิวสเตียรอยด์ สามารถรักษาได้ด้วยการแต้มยา การทานยา
สิวสเตียรอยด์ คืออะไร
สิวสเตียรอยด์ คือ โรคผิวหนังชนิดหนึ่งที่เกิดจากการใช้ยากลุ่มสเตียรอยด์ (Steroids หรือ Corticosteroids) ค่ะ ซึ่งกลุ่มยา Corticosteriods มีสรรพคุณในการลดการอักเสบได้ดี และมักถูกใช้เพื่อบรรเทาอาการของโรคหลายชนิด เช่น โรคหอบหืด (Asthma) โรคผื่นภูมิแพ้แบบเอคซิม่า (Eczema) โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ (Rheumatoid Arthritis) และ โรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง (Inflammatory Bowel Disease หรือ IBD)
ยากลุ่ม Steroid ยังมีสรรพคุณในการเพิ่มมวลกล้ามเนื้อ (หรือที่เรียกว่า Anabolic Steroid) โดยพบว่านักกีฬาและนักเพาะกายที่มีการใช้ยากลุ่มนี้ยังต่อเนื่องจะมีสิวขึ้นบริเวณคอแผ่นหลังเป็นจำนวนมาก
นอกจากนี้ยังอยู่ในรูปแบบยาทาหรือโลชั่นสำหรับรักษาโรคผิวหนังหรือลดอาการแพ้ด้วยค่ะ
ซึ่งการเกิดสิวสเตียรอยด์ย่อมขึ้นความแรงของตัวยา ปริมาณยาที่ใช้ เวลาในการใช้ยา และร่างกายของแต่ละบุคคลค่ะ
เกร็ดความรู้: ศัพท์เฉพาะทางที่เอาไว้เรียกสิวสเตียรอยด์ คือ Acnefiform Eruptions และสิวสเตียรอยด์ไม่นับเป็นโรคสิว หรือ Acne Vulgaris ค่ะ
สิวสเตียรอยด์ เป็นอย่างไร
สิวสเตียรอยด์มีลักษณะคล้ายสิวอักเสบ ประกอบได้ด้วย สิวตุ่มนูนแดง (Papule) สิวหัวหนอง (Pustule) และสิวไต (Nodule) ค่ะ ซึ่งสิวสเตียรอยด์มักจะขึ้นเป็นกลุ่มใหญ่เหมือนผื่น และมักจะขึ้นบริเวณแผ่นหลัง ท้ายทอย แขนและหน้าอกค่ะ
สิวสเตียรอยด์ไม่นับเป็นโรคสิว (Acne Vulgaris) ค่ะ ความแตกต่างระหว่างโรคสิวกับสิวสเตียรอยด์ คือลักษณะของสิวสเตียรอยด์ที่จะประกอบด้วย สิวอักเสบ ตุ่มแดง แต่มักจะไม่มีสิวอุดตันอย่างสิวหัวขาวและสิวหัวดำ และสิวสเตียรอยด์ยังพบได้ในคนทุกวัยหากมีการเริ่มใช้สเตียรอยด์ ในขณะที่โรคสิวมักพบในกลุ่มอายุ กลุ่มอายุ 12-24 ปีค่ะ
สิวสเตียรอยด์ เกิดขึ้นได้อย่างไร
อย่างได้กล่าวไปค่ะ ว่า สิวสเตียรอยด์คือสิวที่เกิดจากการใช้ยา แต่คำถามที่สำคัญก็คือ ยาสเตียรอยด์ทำให้เกิดสิวได้อย่างไร
ยาสเตียรอยด์มีผลทำให้เราเป็นสิวได้ง่ายขึ้นผ่าน 3 กลไกนี้ค่ะ
สเตียรอยด์ทำให้ผิวมันมากขึ้น
ยาสเตียรอยด์มีผลทำให้ต่อมน้ำมันในรูขุมขน (Sebaceous gland) ผลิตน้ำมัน (Sebum) ออกมากขึ้น ส่งผลทำให้รูขุมขนอุดตันได้ง่าย และกลายเป็นแหล่งสะสมของสิ่งสกปรกและแบคทีเรียในที่สุดค่ะ
สเตียรอยด์ทำให้ภูมิคุ้มกันต่ำลง
สเตียรอยด์ลดการอักเสบได้ดี แต่ก็ลดความสามารถของภูมิคุ้มของเราไปด้วย ทำให้แบคทีเรีย P.acnes และ เชื้อรา Malessezia furfur (เดิมเคยใช้ชื่อว่า Pityrosporum ovale) สามารถเติบโตบนผิวหนังของเราได้ง่ายและไวขึ้น ซึ่งนำไปสู่เกิดการสิวในที่สุดค่ะ
สเตียรอยด์ทำให้ฮอร์โมนแปรปรวน
ยาสเตียรอยด์บางกลุ่มมีผลทำให้ฮอร์โมนต่าง ๆ ในร่างกายของเราแปรปรวน ทั้งฮอร์โมนเพศชาย และเพศหญิง ทำให้เกิดสิวได้ง่ายขึ้นค่ะ
สิวสเตียรอยด์ (Steroid acne) vs ผื่นติดสาร (Steroid rosacea)
เราอาจจะได้ยินคำว่าผื่นติดสาร หรือ ผื่นสเตียรอยด์ มาบ้างนะคะ ซึ่งอันที่จริงแล้วผื่นติดสาร ก็คือ ปัญหาผิวที่เกิดจากการใช้สเตียรอยด์เช่นกัน แต่เกิดจากยาสเตียรอยด์ประเภทใช้ภายนอก กล่าวคือ เป็นสเตียรอยด์เกิดจากการใช้ครีม เจล หรือเครื่องสำอางที่มีส่วนผสมของสเตียรอยด์ค่ะ ซึ่งมีความแตกต่างกับสิวสเตียรอยด์ที่เกิดได้ทั้งจากการกินยา ทายาหรือฉีดยาสเตียรอยด์ ค่ะ
สิวจากการใช้ยาสเตียรอยด์ หรือ Steroid acne
สิวสเตียรอยด์ประเภทนี้มักจะขึ้นบริเวณแผ่นหลัง ท้ายทอย แขน และหน้าอก
ลักษณะของสิวสเตียรอยด์
- มีลักษณะเหมือนโรคสิวที่เต็มไปด้วยสิวตุ่มนูนแดง สิวหัวหนอง
- มักจะไม่มีสิวอุดตัน
- เกิดขึ้นได้ในทุกเพศ ทุกวัย
ผื่นจากการใช้ยาสเตียรอยด์ประเภทใช้ภายนอก หรือ Steroid rosacea
Steroid rosacea หรือที่บางคนอาจจะเรียกว่า “ผื่นติดสาร” มักจะเกิดในบริเวณที่มีเราทาครีมหรือเครื่องสำอางนั้น ๆ ลงไป ซึ่งปกติแล้วก็จะเป็น บริเวณหน้าผาก จมูก และแก้ม
ลักษณะของผื่นติดสาร
- ผิวมีสีแดง สามารถมองเห็นเส้นเลือดฝอยใต้ผิวหนังได้ เนื่องจากสเตียรอยด์มีผลทำให้หลอดเลือดฝอยขยายตัว (Telangiectasia)
- มีอาการคันระคายเคือง
- มีสิวประเภทตุ่มนูนแดงและสิวหัวหนอง
- มักมีอาการผิวลอก
- ผิวมีความบอบบาง และตอบสนองรวดเร็วต่อตัวกระตุ้น เช่น แสงแดด ฝุ่นควัน หรือสารเคมี มากขึ้น
นอกจากนี้ สิวแบบ steroid acne และ ผื่น steroid rosacea ก็วิธีการรักษาที่ต่างกันด้วยค่ะ
ใครที่เสี่ยงต่อการเป็นสิวสเตียรอยด์
หมอผึ้งจะขอยกตัวอย่างกลุ่มคนที่เสี่ยงต่อการเป็นสิวสเตียรอยด์มาให้อ่านเพิ่มเติมค่ะ
- นักกีฬา และนักเพาะกาย ที่ใช้ Anabolic steroids เพื่อเพิ่มมวลกล้ามเนื้อ และสมรรถภาพร่างกาย
- คนที่มีโรคเรื้อรังและต้องใช้ยาสเตียรอยด์เป็นเวลานานเพื่อรักษา เช่น โรคหอบหืด โรคลูปัส โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ หรือกลุ่มโรคทางระบบภูมิคุ้มกัน (Autoimmune diseases)
- คนที่มีภาวะความผิดปกติทางฮอร์โมน เช่น กลุ่มอาการคุชชิ่ง (Cushing syndrome)
- คนที่ทายาเสตียรอยด์ต่อเนื่องกันนาน
จะเห็นว่าในหลาย ๆ กรณี เราก็จำเป็นต้องใช้ยาสเตียรอยด์ถึงแม้มันจะเป็นตัวการที่ทำให้เราเกิดสิว ฉะนั้น ก่อนวางแผนการรักษาสิว อย่าลืมปรึกษาแพทย์เจ้าของไข้และแจ้งแพทย์ผิวหนังให้ทราบถึงข้อมูลเกี่ยวกับโรคประจำตัวของคุณด้วยค่ะ
สิวสเตียรอยด์ รักษาอย่างไร
วิธีการรักษาสิวสเตียรอยด์ก็คล้ายกับวิธีรักษาสิวปกติค่ะ กล่าวคือ สามารถใช้ยาแต้ม ทานยา หรือใช้หัตถการเลเซอร์ได้ แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือ ควรหยุดใช้ยากลุ่มสเตียรอยด์ (ซึ่งสำหรับคนที่มีโรคประจำตัว ที่ไม่สามารถหยุดยาเองได้ ควรปรึกษาแพทย์เจ้าของโรคก่อนนะคะ)
รักษาด้วยการใช้ยาแต้มที่มี Retinoids
ตัวยาเรตินอยด์ (Retinoids) เป็นยาแต้มที่มีประสิทธิภาพสูง และพิสูจน์แล้วว่าช่วยแก้ปัญหาสิวสเตียรอยด์ได้ดีค่ะ โดยเรตินอยด์จะช่วยลดการผลิตน้ำมันของต่อมน้ำมันใต้ผิวหนัง ทำให้การเกิดสิวน้อยลง นอกจากนี้ผลิตภัณฑ์คลีนซิ่งที่มีส่วนผสมของ Benzyl peroxide และ Salicylic acid ก็สามารถใช้ร่วมกับยาแต้มได้ค่ะ
รักษาด้วยยาปฏิชีวนะแบบทาน
ยาปฏิชีวนะที่ใช้รักษาสิวสเตียรอยด์ คือตัวยา Doxycyline ค่ะ ซึ่งเป็นตัวยาที่ออกฤทธิ์ฆ่าเชื้อและยับยั้งการเจริญเติบโตแบคทีเรีย P.acnes
หมอต้องย้ำนะคะว่า เราไม่ควรซื้อยาปฏิชีวนะหรือยาต้านเชื้อรามาใช้เอง แต่ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางผิวหนังและให้แพทย์เป็นวางแผนการรักษาดีกว่าค่ะ
รักษาด้วย DermaLight
อีกหนึ่งวิธีรักษาแก้ปัญหาสิวสเตียรอยด์ที่สามารถทำได้คือ DermaLight IPL ซึ่งถือเป็นการรักษาที่ทำได้ง่าย ความเสี่ยงต่ำ และมีประสิทธิภาพสูงค่ะ
โปรแกรม DermaLight ของ EY Clinic จะใช้เทคโนโลยี IPL (Intense Pulsed Light) ซึ่งปล่อยแสงที่มีความเข้มข้นสูงออกมาเป็นจังหวะสั้น ๆ ซึ่งช่วยให้เราสามารถควบคุมพลังงานความร้อนจากแสงได้อย่างแม่นยำ โดยแสงที่ใช้ มีอานุภาพในการทำลายเยื่อหุ้มเซลล์ของแบคทีเรีย P.acnes ทำให้แบคทีเรียตัวนี้ไม่สามารถเพิ่มจำนวนได้คะ
วิธีการดูแลผิวเมื่อเป็นสิวสเตียรอยด์
- รักษาความสะอาดของร่างกายและใบหน้า โดยเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ล้างหน้าและสบู่ที่ปราศจากน้ำหอม พาราเบน และแอลกอฮอล์ เพื่อลดโอกาศการระคายเคืองของผิว
- บำรุงผิวด้วยมอยเจอร์ไรเซอร์หรือโลชั่น เพืพ่อเติมความชุ่มชื้นให้ผิว เนื่องจากความชุมชื้นเป็นสิงที่จำเป็นต่อกระบวนการสมานแผล และสุขภาพผิวที่ดี
- ทาครีมกันแดดทุกครั้งก่อนออกแดด เพื่อต้องสร้างเกราะป้องกันให้ผิวจากรังสียูวี
- ไม่แกะ กด หรือบีบสิวเอง เพราะจะทำให้การอักเสบรุนแรงมากขึ้น และยังเสี่ยงต่อการเกิดหลุมสิว หรือจุดด่างดำจากสิว
สิวสเตียรอยด์รักษาได้ที่ EY Clinic
เราได้สรุปกันไปแล้วว่า สิวสเตียรอยด์ คือสิวที่เกิดจากการใช้สเตียรอยด์ และในบางครั้ง เราก็ไม่สามารถหยุดใช้สเตียรอยด์ได้ ฉะนั้นการรักษาก็ควรอยู่ใต้การดูแลของแพทย์ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญค่ะ
ที่ EY Clinic เราเข้าใจดีถึงปัญหาความเครียดและความไม่มั่นใจที่มากกับสิวหรือปัญหาผิวอื่น ๆ เราจึงมุ่งมั่นที่จะช่วยคุณฟื้นฟูสุขภาพผิว และคืนความมั่นใจให้คุณอย่างเต็มความสามารถค่ะ
EY Clinic เป็นคลินิกที่เชี่ยวชาญด้านสิว หลุมสิว และ ชะลอวัย
เพราะเราคือทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์รวมกันมากกว่า 30 ปี นำทีมโดย หมอผึ้ง (พญ.พัจนภา เวชอนุรักษ์) แพทย์ผิวหนังเฉพาะทาง สถาบันโรคผิวหนัง Board of Dermatology and Dermatosurgery และ หมอโบว์ (พญ. พันธลี ชื่นสัมพันธ์) เวชศาสตร์ชะลอวัย American Board of Anti-Aging & Regenerative Medicine แพทยศาสตร์บัณฑิตโรงพยาบาลรามาธิบดี ยินดี ให้คำปรึกษาและช่วยดูแลให้ผิวของคุณมีสุขภาพดีมากขึ้นค่ะ
แวะเข้ามาพูดคุยกับเราได้ที่ EY Clinic หรือ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่ @EYClinicTH ค่ะ
ตอบคำถามที่พบบ่อยเรื่องสิวสเตียรอยด์
สิวสเตียรอยด์หายเองได้ไหม
สิวสเตียรอยด์หายเองได้ค่ะ อย่างที่เรารู้กันว่า สิวสเตียรอยด์คือสิวที่เกิดจากการใช้ยาสเตียรอยด์ หากหยุดการใช้ยาแล้ว สิวก็จะเริ่มดีขึ้นด้วยตัวเองค่ะ แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของสิวและสภาพผิวของแต่ละคนด้วยค่ะ
สิวสเตียรอยด์รักษานานไหม กี่วันถึงจะหาย
สิวสเตียรอยด์มักใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 1-2 เดือนในการรักษาค่ะ และในบางกรณีก็อาจจะไม่หายขาดหากยังมีความจำเป็นที่จะต้องใช้ยารักษาโรคกลุ่มสเตียรอยด์อยู่ แต่อย่างไรก็ดี การรักษาก็จะช่วยให้อาการสิวดีขึ้นได้ค่ะ