คลินิกสุขภาพเชิงป้องกัน และฟื้นฟู
Mar 8, 2024
0
min read

รู้ทันร่างกาย กับ การตรวจฮอร์โมนวัยทอง-ฮอร์โมนเพศหญิง

รู้ทันร่างกาย กับ การตรวจฮอร์โมนวัยทอง-ฮอร์โมนเพศหญิง

ในบทความเรานี้เราจะโฟกัสเรื่องการตรวจฮอร์โมนเพศหญิงเป็นหลัก มาเรียนรู้กันว่า อาการของภาวะฮอร์โมนไม่สมดุลเป็นอย่างไร การตรวจฮอร์โมนต้องเตรียมตัวแบบไหน และเมื่อไหร่ที่เราควรตรวจฮอร์โมนของตัวเองค่ะ

ภาวะฮอร์โมนขาดสมดุล คืออะไร

ภาวะฮอร์โมนขาดสมดุล หรือ Hormonal Imbalance เป็นภาวะที่เกิดเมื่อฮอร์โมนในร่างกายมีระดับต่ำหรือสูงกว่าปกติ ส่งผลให้การทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกายแปรปรวน ฮอร์โมนต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นฮอร์โมนไทรอยด์ เซโรโทนิน (Serotonin) หรือฮอร์โมนเพศ อย่าง เอสโตรเจน (Estrogen) โปรเจนเทอโรน (Progesterone) และเทสโทสเตอโรน (Testosterone) ก็ล้วนแล้วแต่มีบทบาทสำคัญในการทำงานของร่างกาย และการที่ระดับของฮอร์โมนเหล่านี้ไม่สมดุล ก็สามารถส่งผลให้แสดงอาการออกว่าได้หลายรูปแบบค่ะ ตั้งแต่ อาการเหนื่อยล่า มือสั้น หงุดหงิดง่าย ไปถึงอาการหลับยากค่ะ

อย่างที่กล่าวไว้ว่า ในบทความเรานี้เราจะโฟกัสเรื่องการตรวจฮอร์โมนเพศหญิงเป็นหลัก ซึ่งนั่นก็คือ เอสโตรเจน (Estrogen) และโปรเจนเทอโรน (Progesterone) มาดูกันว่าอาการของระดับฮอร์โมนเพศหญิงเป็นอย่างไร

อาการของภาวะฮอร์โมนไม่สมดุล

ประจำเดือนมาไม่ปกติ (Irregular menstrual Cycles)

เมื่อฮอร์โมนเพศหญิงขาดความสมดุล อาการที่พบได้บ่อยคือ ความผิดปกติของประจำเดือนค่ะ ซึ่งอาการอาจจะมาในรูปแบบของประจำเดือนที่มามากกว่าปกติ ประจำเดือนไม่มา หรือมีรอบประจำที่ยาวหรือสั้นกว่าปกติค่ะ

ร้อนวูบวาบ (Hot Flashes) และ เหงื่อออกตอนกลางคืน (Night Sweats)

อาการร้อนวูบวาบและเหงื่อออกตอนกลางคืนส่งผลต่ออารมณ์และทำให้คุณภาพในการนอนแย่ลงค่ะ อาการทั้งสองนี้ เราอาจจะคุ้นเคยว่าเป็นอาการของวัยหมดประจำเดือนหรือวัยทอง (Menopause) ซึ่งเป็นช่วงที่ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนมีความแปรปรวนสูง จึงส่งผลต่อการทำงานของต่อมไฮโปทาลามัส (Hypothalamus) ซึ่งเป็นเหมือนศูนย์ควบคุมอุณหภูมิของร่างกายค่ะ

ผมร่วง (Hair Loss) และ ผมบาง (Hair thinning)

อาการผมร่วง ผมบาง ไม่แข็งแรง เป็นอีกหนึ่งสัญญาณของภาวะฮอร์โมนขาดสมดุล และเป็นอาการที่พบบ่อยในวัยหมดประจำเดือนค่ะ เมื่อระดับเอสโตรเจนตก การผลิตผมเส้นใหม่จะช้าลง และระดับของฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนจะเพิ่มขึ้นมาเพื่อทดแทนเอสโตรเจน แต่เจ้าเทสโทสเตอโรนมีผลทำให้รูขุมขนหดตัว จึงส่งแสดงออกมาเป็นอาการผมร่วงและบางค่ะ

อาการเครียด (Anxious) และอารมณ์แปรปรวน (Mood Swings)

เมื่อระดับของเอสโตรเจนในร่างกายขาดสมดุล ฮอร์โมนตัวอื่น เช่น โดพามีน (Dopamine) เซโรโทนิน (Serotonin) และ คอลติซอล (Cortisol) ก็ได้รับผลกระทบไปด้วย ส่งผลให้อารมณ์แปรปรวนและระดับความเครียดสูงขึ้นค่ะ

น้ำหนักขึ้นง่าย (Weight gain)

ฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจนเตอโรนมีผลต่อการเผาผลาญ ความอยากอาหาร และการสะสมของไขมันในร่างกายค่ะ เมื่อฮอร์โมนเหล่านี้ขาดความสมดุลจึงส่งให้ระบบเผาผลาญทำงานได้ช้าลง ร่างกายตอบสนองต่อระดับน้ำตาลในกระแสเลือดได้ช้าลง มีความอยากอาหารมากขึ้น สร้างกล้ามเนื้อได้น้อย และมีการสะสมไขมันช่วงลำตัวที่มากขึ้น ซึ่งส่งผลให้น้ำหนักขึ้นได้ง่ายค่ะ

รู้สึกเหนื่อยล้า (Fatigue)

ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนที่แปรปรวนส่งผลต่อกล้ามเนื้อ ข้อต่อและกระดูกค่ะ เนื่องจากเอสโตรเจนมีส่วนช่วยในการดูแลรักษาเนื้อเยื่อบริเวณข้อต่อ กระดูกอ่อน และเพิ่มความแข็งแรงของกระดูกค่ะ เอสโตรเจนที่ต่ำลงจึงทำให้เรารู้สึกอ่อนล้า ปวดเมื่อย ไม่ค่อยมีแรง อีกทั้งความเครียดและคุณภาพการนอนที่แย่ลง ก็มีส่วนทำให้รู้สึกเหนื่อยล้าไปด้วยค่ะ

ใครควรตรวจฮอร์โมน

ได้พูดถึงอาการของการภาวะฮอร์โมนขาดความสมดุลไปแล้ว เรามาดูกันค่ะว่าใครควรจะตรวจฮอร์โมนบ้าง

ผู้ที่กำลังเข้าสู่วัยทอง

สาวๆ ที่อายุเข้าใกล้เลข 5 เป็นกลุ่มที่ควรได้รับการตรวจฮอร์โมนค่ะ เพื่อเป็นการวางแผนดูแลสุขภาพในระยะยาว และเพื่อให้แน่ใจว่าอาการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นมาจากภาวะหมดประจำเดือนตามวัย และไม่มีปัจจัยอื่นข้องเกี่ยวค่ะ การตรวจฮอร์โมนจะทำให้เรารู้ว่าเราอยู่จุดไหนของวัยทอง ควรได้รับฮอร์โมนบำบัด (Hormonal Therapy หรือ HT) หรือไม่ ควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแบบไหน และมีร่างกายจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้างค่ะ ซึ่งในการตรวจฮอร์โมนที่ EY Clinic จะมีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟูเป็นคนให้คำปรึกษาและดูแลอย่างใกล้ชิดค่ะ

ผู้ที่มีอาการประเดือนมาไม่ปกติ

สำหรับสาว ๆ ที่กำลังอยู่ในวัยเจริญพันธุ์ และมีอาการประจำเดือนมาไม่ปกติ ควรคำนึงถึงการตรวจฮอร์โมนค่ะ เนื่องจากอาการประจำเดือนมาไม่ปกติเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย ตั้งแต่ความเครียด การออกกำลังกายที่มากเกินไป ยาที่ใช้ ไปจนถึงโรคต่าง ๆ เช่น ภาวะถุงน้ำในรังไข่หลายใบ (Polycystic ovarian syndrome หรือ PCOS) ซึ่งมักเกิดขึ้นในผู้หญิงวัย 20-30 ปี หรือภาวะรังไข่ทำงานผิดปกติ (Premature Ovarian Insufficiency) ที่เกิดในผู้หญิงช่วงอายุ 40 ปีค่ะ

ผู้ที่กำลังวางแผนตั้งครรภ์

ระดับฮอร์โมนมีความสำคัญต่อการตั้งครรภ์เป็นอย่างมากค่ะ ผู้ที่กำลังวางแผนตั้งครรภ์ควรเข้ารับการตรวจฮอร์โมนเพื่อเตรียมร่างกายให้พร้อมสำหรับการมีบุตร และเพื่อให้มั่นใจการตั้งครรภ์จะเป็นไปได้อย่างสมบูรณ์และปลอดภัยค่ะ

ก่อนตรวจฮอร์โมน ต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง

  • สำหรับการตรวจฮอร์โมนเพศหญิง ไม่จำเป็นต้องงดน้ำและอาหาร
  • สาว ๆ ที่มีปัญหาอาการก่อนมีประจำเดือน หรือ PMS เด่นชัด และต้องการตรวจฮอร์โมนเพื่อเช็กความสมดุลของเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรน แนะนำให้นัดตรวจในวันที่ 21 ของรอบเดือนค่ะ โดยนับวันแรกที่มีประจำเดือนเป็นวันที่ 1 ค่ะ
  • หากรับประทานยาคุมกำเนิด ใช้ฮอร์โมนเสริม หรือมีโรคประจำตัว ควรแจ้งให้แพทย์ผู้ดูแลทราบก่อนตรวจเสมอค่ะ

ตรวจฮอร์โมนที่ EY Clinic

Female Hormone Panel (e2+p4+t) เป็นโปรแกรมการตรวจฮอร์โมนเพศหญิงหรือวัยทองที่ EY Clinic ที่ประกอบไปด้วย:

  • การตรวจเช็กร่างกายโดยแพทย์ (Physical Examination)
  • การตรวจระดับฮอร์โมนเพศหญิง (Female Hormone Profile)some text
    • เอสโตรเจน (Estrogen)
    • โปรเจสเทอโรน (Progesterone)
    • เทสโทสเทอโรน (Testosterone)
  • รายงานผลการตรวจและให้คำแนะนำ (Check-up and consultation) ในราคา 1,999 บาทค่ะ

การตรวจฮอร์โมนถือเป็นหนึ่งในการบริการด้าน Wellness ของเรา นำทีมโดยหมอโบว์ แพทย์เฉพาะทางเวชศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟู จาก American Academy of Anti-Aging ที่พร้อมดูแลให้คำปรึกษากับคุณด้วยความใส่ใจค่ะ มีการตรวจที่มีมาตรฐาน เป็นส่วนตัว และไม่มีการขายทรีตเมนต์หรืออาหารเสริมที่ไม่จำเป็นค่ะ

บทความนี้ได้รับการตรวจความถูกต้องของเนื้อหาโดยแพทย์เฉพาะทางด้านเวชศาตร์ชะลอวัยแล้ว

acne & acne scar expert
เรามีทรีตเมนต์หลากหลายที่ออกแบบมาเพื่อส่งเสริมสุขภาพโดยรวมของคุณ ตั้งแต่การดูแลผิวไปจนถึงโภชนาการ เรามีทุกสิ่งที่คุณต้องการเพื่อให้คุณรู้สึกดีที่สุด