คลินิกสุขภาพเชิงป้องกัน และฟื้นฟู
ในบทความเรานี้เราจะโฟกัสเรื่องการตรวจฮอร์โมนเพศหญิงเป็นหลัก มาเรียนรู้กันว่า อาการของภาวะฮอร์โมนไม่สมดุลเป็นอย่างไร การตรวจฮอร์โมนต้องเตรียมตัวแบบไหน และเมื่อไหร่ที่เราควรตรวจฮอร์โมนของตัวเองค่ะ
ภาวะฮอร์โมนขาดสมดุล คืออะไร
ภาวะฮอร์โมนขาดสมดุล หรือ Hormonal Imbalance เป็นภาวะที่เกิดเมื่อฮอร์โมนในร่างกายมีระดับต่ำหรือสูงกว่าปกติ ส่งผลให้การทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกายแปรปรวน ฮอร์โมนต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นฮอร์โมนไทรอยด์ เซโรโทนิน (Serotonin) หรือฮอร์โมนเพศ อย่าง เอสโตรเจน (Estrogen) โปรเจนเทอโรน (Progesterone) และเทสโทสเตอโรน (Testosterone) ก็ล้วนแล้วแต่มีบทบาทสำคัญในการทำงานของร่างกาย และการที่ระดับของฮอร์โมนเหล่านี้ไม่สมดุล ก็สามารถส่งผลให้แสดงอาการออกว่าได้หลายรูปแบบค่ะ ตั้งแต่ อาการเหนื่อยล่า มือสั้น หงุดหงิดง่าย ไปถึงอาการหลับยากค่ะ
อย่างที่กล่าวไว้ว่า ในบทความเรานี้เราจะโฟกัสเรื่องการตรวจฮอร์โมนเพศหญิงเป็นหลัก ซึ่งนั่นก็คือ เอสโตรเจน (Estrogen) และโปรเจนเทอโรน (Progesterone) มาดูกันว่าอาการของระดับฮอร์โมนเพศหญิงเป็นอย่างไร
อาการของภาวะฮอร์โมนไม่สมดุล
ประจำเดือนมาไม่ปกติ (Irregular menstrual Cycles)
เมื่อฮอร์โมนเพศหญิงขาดความสมดุล อาการที่พบได้บ่อยคือ ความผิดปกติของประจำเดือนค่ะ ซึ่งอาการอาจจะมาในรูปแบบของประจำเดือนที่มามากกว่าปกติ ประจำเดือนไม่มา หรือมีรอบประจำที่ยาวหรือสั้นกว่าปกติค่ะ
ร้อนวูบวาบ (Hot Flashes) และ เหงื่อออกตอนกลางคืน (Night Sweats)
อาการร้อนวูบวาบและเหงื่อออกตอนกลางคืนส่งผลต่ออารมณ์และทำให้คุณภาพในการนอนแย่ลงค่ะ อาการทั้งสองนี้ เราอาจจะคุ้นเคยว่าเป็นอาการของวัยหมดประจำเดือนหรือวัยทอง (Menopause) ซึ่งเป็นช่วงที่ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนมีความแปรปรวนสูง จึงส่งผลต่อการทำงานของต่อมไฮโปทาลามัส (Hypothalamus) ซึ่งเป็นเหมือนศูนย์ควบคุมอุณหภูมิของร่างกายค่ะ
ผมร่วง (Hair Loss) และ ผมบาง (Hair thinning)
อาการผมร่วง ผมบาง ไม่แข็งแรง เป็นอีกหนึ่งสัญญาณของภาวะฮอร์โมนขาดสมดุล และเป็นอาการที่พบบ่อยในวัยหมดประจำเดือนค่ะ เมื่อระดับเอสโตรเจนตก การผลิตผมเส้นใหม่จะช้าลง และระดับของฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนจะเพิ่มขึ้นมาเพื่อทดแทนเอสโตรเจน แต่เจ้าเทสโทสเตอโรนมีผลทำให้รูขุมขนหดตัว จึงส่งแสดงออกมาเป็นอาการผมร่วงและบางค่ะ
อาการเครียด (Anxious) และอารมณ์แปรปรวน (Mood Swings)
เมื่อระดับของเอสโตรเจนในร่างกายขาดสมดุล ฮอร์โมนตัวอื่น เช่น โดพามีน (Dopamine) เซโรโทนิน (Serotonin) และ คอลติซอล (Cortisol) ก็ได้รับผลกระทบไปด้วย ส่งผลให้อารมณ์แปรปรวนและระดับความเครียดสูงขึ้นค่ะ
น้ำหนักขึ้นง่าย (Weight gain)
ฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจนเตอโรนมีผลต่อการเผาผลาญ ความอยากอาหาร และการสะสมของไขมันในร่างกายค่ะ เมื่อฮอร์โมนเหล่านี้ขาดความสมดุลจึงส่งให้ระบบเผาผลาญทำงานได้ช้าลง ร่างกายตอบสนองต่อระดับน้ำตาลในกระแสเลือดได้ช้าลง มีความอยากอาหารมากขึ้น สร้างกล้ามเนื้อได้น้อย และมีการสะสมไขมันช่วงลำตัวที่มากขึ้น ซึ่งส่งผลให้น้ำหนักขึ้นได้ง่ายค่ะ
รู้สึกเหนื่อยล้า (Fatigue)
ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนที่แปรปรวนส่งผลต่อกล้ามเนื้อ ข้อต่อและกระดูกค่ะ เนื่องจากเอสโตรเจนมีส่วนช่วยในการดูแลรักษาเนื้อเยื่อบริเวณข้อต่อ กระดูกอ่อน และเพิ่มความแข็งแรงของกระดูกค่ะ เอสโตรเจนที่ต่ำลงจึงทำให้เรารู้สึกอ่อนล้า ปวดเมื่อย ไม่ค่อยมีแรง อีกทั้งความเครียดและคุณภาพการนอนที่แย่ลง ก็มีส่วนทำให้รู้สึกเหนื่อยล้าไปด้วยค่ะ
ใครควรตรวจฮอร์โมน
ได้พูดถึงอาการของการภาวะฮอร์โมนขาดความสมดุลไปแล้ว เรามาดูกันค่ะว่าใครควรจะตรวจฮอร์โมนบ้าง
ผู้ที่กำลังเข้าสู่วัยทอง
สาวๆ ที่อายุเข้าใกล้เลข 5 เป็นกลุ่มที่ควรได้รับการตรวจฮอร์โมนค่ะ เพื่อเป็นการวางแผนดูแลสุขภาพในระยะยาว และเพื่อให้แน่ใจว่าอาการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นมาจากภาวะหมดประจำเดือนตามวัย และไม่มีปัจจัยอื่นข้องเกี่ยวค่ะ การตรวจฮอร์โมนจะทำให้เรารู้ว่าเราอยู่จุดไหนของวัยทอง ควรได้รับฮอร์โมนบำบัด (Hormonal Therapy หรือ HT) หรือไม่ ควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแบบไหน และมีร่างกายจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้างค่ะ ซึ่งในการตรวจฮอร์โมนที่ EY Clinic จะมีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟูเป็นคนให้คำปรึกษาและดูแลอย่างใกล้ชิดค่ะ
ผู้ที่มีอาการประเดือนมาไม่ปกติ
สำหรับสาว ๆ ที่กำลังอยู่ในวัยเจริญพันธุ์ และมีอาการประจำเดือนมาไม่ปกติ ควรคำนึงถึงการตรวจฮอร์โมนค่ะ เนื่องจากอาการประจำเดือนมาไม่ปกติเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย ตั้งแต่ความเครียด การออกกำลังกายที่มากเกินไป ยาที่ใช้ ไปจนถึงโรคต่าง ๆ เช่น ภาวะถุงน้ำในรังไข่หลายใบ (Polycystic ovarian syndrome หรือ PCOS) ซึ่งมักเกิดขึ้นในผู้หญิงวัย 20-30 ปี หรือภาวะรังไข่ทำงานผิดปกติ (Premature Ovarian Insufficiency) ที่เกิดในผู้หญิงช่วงอายุ 40 ปีค่ะ
ผู้ที่กำลังวางแผนตั้งครรภ์
ระดับฮอร์โมนมีความสำคัญต่อการตั้งครรภ์เป็นอย่างมากค่ะ ผู้ที่กำลังวางแผนตั้งครรภ์ควรเข้ารับการตรวจฮอร์โมนเพื่อเตรียมร่างกายให้พร้อมสำหรับการมีบุตร และเพื่อให้มั่นใจการตั้งครรภ์จะเป็นไปได้อย่างสมบูรณ์และปลอดภัยค่ะ
ก่อนตรวจฮอร์โมน ต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง
- สำหรับการตรวจฮอร์โมนเพศหญิง ไม่จำเป็นต้องงดน้ำและอาหาร
- สาว ๆ ที่มีปัญหาอาการก่อนมีประจำเดือน หรือ PMS เด่นชัด และต้องการตรวจฮอร์โมนเพื่อเช็กความสมดุลของเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรน แนะนำให้นัดตรวจในวันที่ 21 ของรอบเดือนค่ะ โดยนับวันแรกที่มีประจำเดือนเป็นวันที่ 1 ค่ะ
- หากรับประทานยาคุมกำเนิด ใช้ฮอร์โมนเสริม หรือมีโรคประจำตัว ควรแจ้งให้แพทย์ผู้ดูแลทราบก่อนตรวจเสมอค่ะ
ตรวจฮอร์โมนที่ EY Clinic
Female Hormone Panel (e2+p4+t) เป็นโปรแกรมการตรวจฮอร์โมนเพศหญิงหรือวัยทองที่ EY Clinic ที่ประกอบไปด้วย:
- การตรวจเช็กร่างกายโดยแพทย์ (Physical Examination)
- การตรวจระดับฮอร์โมนเพศหญิง (Female Hormone Profile)some text
- เอสโตรเจน (Estrogen)
- โปรเจสเทอโรน (Progesterone)
- เทสโทสเทอโรน (Testosterone)
- รายงานผลการตรวจและให้คำแนะนำ (Check-up and consultation) ในราคา 1,999 บาทค่ะ
การตรวจฮอร์โมนถือเป็นหนึ่งในการบริการด้าน Wellness ของเรา นำทีมโดยหมอโบว์ แพทย์เฉพาะทางเวชศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟู จาก American Academy of Anti-Aging ที่พร้อมดูแลให้คำปรึกษากับคุณด้วยความใส่ใจค่ะ มีการตรวจที่มีมาตรฐาน เป็นส่วนตัว และไม่มีการขายทรีตเมนต์หรืออาหารเสริมที่ไม่จำเป็นค่ะ
บทความนี้ได้รับการตรวจความถูกต้องของเนื้อหาโดยแพทย์เฉพาะทางด้านเวชศาตร์ชะลอวัยแล้ว
ในบทความ หมอโบว์ได้สรุปข้อมูลเกี่ยวกับโรคภูมิแพ้เบื้องต้นที่คุณควรรู้มาให้แล้วค่ะ มาศึกษากันว่า ภูมิแพ้คืออะไร สาเหตุและปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคภูมิแพ้มีอะไรย้าง ทำไมเป็นภูมิแพ้ ถึงขอบตาดำ และเป็นภูมิแพ้ควรจะดูแลตัวเองอย่างไรค่ะ
ภูมิแพ้ คืออะไร
ภูมิแพ้ หรือ Allergy คือการที่ระบบภูมิคุ้มกันของเราตอบสนองต่อบางสิ่งบางอย่างไวเกินไป อย่าง เช่น อาหาร ควัน เกสรดอกไม้ หรือขนสัตว์ ซึ่งเราเรียกว่าตอบสนองตรงนี้ว่า “Hypersensitivity” หรือถ้าพูดง่ายๆ ก็คือร่างกายของเราเซ็นซิทีฟกับสิ่งเหล่านี้มากกว่าปกติ จึงเกิดเป็นอาการภูมิแพ้ขึ้นมา เช่น มีน้ำมูก จาม เป็นผื่นคัน เป็นต้นค่ะ
สิ่งที่ทำให้เกิดอาหารแพ้ หรือ สารก่อภูมิแพ้ (Allergens) ที่พบได้บ่อย มีดังนี้ค่ะ
- เกสรดอกไม้ หรือ หญ้า
- ฝุ่น
- อาหาร เช่น ถั่วบางชนิด นมวัว ไข่ขาว หรืออาหารทะเลบางชนิด
- ขนสัตว์
- เหล็กในของผึ้งและต่อ
- ยาบางชนิด: ตัวยาที่พบอาการแพ้ได้บ่อยที่สุด คือ Penicillin ซึ่งเป็นยาปฏิชีวนะ
โดยทั่วไป อาการภูมิแพ้จะเผยตัวตั้งแต่ตอนเราอายุยังน้อย และอาจติดตัวเราไปจนโต หรือหายไปเมื่อโตขึ้นก็ได้ แต่คนที่อยู่ในวัยผู้ใหญ่แล้วก็สามารถเริ่มเป็นภูมิแพ้กับสารก่อภูมิแพ้ตัวใหม่ได้เช่นกันค่ะ
เป็นภูมิแพ้ มีอาการอย่างไร
คนที่เป็นภูมิแพ้สามารถแสดงอาการออกมาได้หลายรูปแบบค่ะ โดยอาการเหล่านี้เป็นผลของสารฮีสตามีน (Histamine) ซึ่งถูกหลั่งออกมาเมื่อร่างกายเจอกับสารก่อภูมิแพ้ โดยเราสามารถจำแนกอาการภูมิแพ้ตามระบบต่าง ๆ ของร่างกายได้อย่างคร่าว ๆ ดังนี้ค่ะ่
- อาการที่แสดงออกทางผิวหนัง เช่น เป็นผื่นคันตามใบหน้าและลำตัว ซึ่งผื่นอาจจะเป็นตุ่มแดงขนาดเล็ก หรือเป็นตุ่มนูนที่มีขนาดไม่แน่นอน
- อาการที่แสดงออกทางระบบทางเดินหายใจ เช่น คัดจมูก มีน้ำมูกไหล คันคอ ไอ จาม คันจมูก หายใจไม่สะดวกเนื่องจากหลอดลมบวมตัว
- อาการที่แสดงออกทางระบบทางย่อยอาหาร เช่น ปวดท้อง แสบท้อง คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย หรือท้องอืด
- อาการอื่นๆ เช่น ตาแดง หน้าบวม ปากบวม วิงเวียนศีรษะ อ่อนเพลีย
ทำไมเป็นภูมิแพ้ ถึงขอบตาดำ
หลายคนที่เป็นโรคภูมิแพ้จะรู้ดีว่า เมื่อเกิดอาการแพ้เมื่อไหร่ ผิวบริเวณขอบตาหรือใต้ตาก็จะเริ่มหมองคล้ำทันที ซึ่งทำให้ดูเหนื่อยและไม่สดใส อาการขอบตาดำคล้ำจากภูมิแพ้ (Allergic shiners) เกิดจากการที่ไซนัส (sinus) หรือโพรงอากาศบริเวณหน้าผากและจมูกของเราอุดตัน เพราะผลของสารฮีสตามีนค่ะ เมื่อโพรงเหล่านี้เกิดอุดตัน เส้นเลือดฝอยบริเวณนั้น ๆ ก็จะอัดตันไปด้วย ทำให้เลือดจำนวนหนึ่งตกค้างอยู่บริเวณใต้ตา จึงทำให้ขอบตาดำคล้ำและบวมค่ะ
เป็นภูมิแพ้ จามทุกเช้า ต้องทำอย่างไร
อาการจามทุกเช้าของคนที่เป็นภูมิแพ้มักมีสาเหตุมาจากฝุ่นในห้องนอน หรือสารก่อภูมิแพ้อื่น ๆ ที่ภายในบ้าน ค่ะ ซึ่งการทำความสะอาดห้องนอนและเครื่องนอนก็ช่วยแก้อาการจามตอนเช้าได้ และเครื่องปรับอากาศ หรือพัดลมก็ควรมีการทำความสะอาดอย่างสม่ำเสมอเช่นกันค่ะ และควรตรวจสอบพื้นที่บริเวณบ้าน เช่น ฝา พื้น หรือผนัง ว่ามีเชื้อราอยู่หรือไม่ เพราะเชื้อราตามก็สามารถทำให้เกิดอาการแพ้ได้ค่ะ
เป็นภูมิแพ้แล้วหายใจไม่ค่อยออก ต้องทำอย่างไร
อาการหายใจไม่สะดวกเป็นอาการที่พบได้ค่อนข้างบ่อยในคนที่เป็นภูมิแพ้ค่ะ ซึ่งอาการนี้เกิดจากการบวมตัวของเยื่อหุ้มโพรงจมูกและหลอดลมซึ่งเป็นผลมาจากสารฮีสตามีน ทำให้ทางเดินหายใจแคบและหายใจไม่สะดวกค่ะ อย่างไรก็ดี อาการหายใจไม่ออกสามารถบรรเทาได้ด้วยการใช้ยาแก้แพ้ (Antihistamine) และการจมูกด้วยน้ำเกลือ (Nasal irrigation) ค่ะ
แต่หากอาการหายใจไม่ออกเริ่มรุนแรงขึ้น หรือมีอาการถี่ขึ้น หมอโบว์ขอแนะนำให้ปรึกษาแพทย์เฉพาะทางทันทีค่ะ
สาเหตุของการเกิดโรคภูมิแพ้
พันธุกรรม
ส่วนใหญ่แล้ว โรคภูมิแพ้จะถูกส่งต่อผ่านทางพันธุกรรมค่ะ โดยเด็กที่เกิดจากพ่อแม่ที่มีประวัติโรคภูมิแพ้จะมีโอกาสเป็นโรคภูมิแพ้มากกว่าเด็กที่พ่อแม่ไม่เป็นภูมิแพ้ค่ะ แต่ทั้งนี้ไม่ได้แปลว่า เราจะมีแพ้สารตัวเดียวกับคุณพ่อหรือคุณแม่ของเราเสมอ อาทิ เช่น หากคุณแม่แพ้ขนแมว ตัวเราเองก็อาจจะแพ้หรือไม่แพ้ขนแมวก็ได้ ซึ่งวิธีที่จะรู้ได้ชัดเจนก็คือการเข้าตรวจหาสารก่อโรคภูมิแพ้ค่ะ
สิ่งแวดล้อม
สิ่งแวดล้อมอยู่รอบตัวเราย่อมส่งผลต่อร่างกายของเราค่ะ โดยหากเราอยู่ในพื้นที่ที่มีสารก่อภูมิแพ้อยู่เยอะ เช่น อาศัยอยู่ในบ้านที่มีสวน มีสัตว์เลี้ยง ฝุ่นและเชื้อรา ก็สามารถเราเกิดอาการแพ้ได้ค่ะ
อีกหนึ่งปัจจัยทางด้านสิ่งแวดล้อมคือ อากาศ ค่ะ อากาศที่มีไม่บริสุทธิ์ เต็มไปด้วยฝุ่นควันจากท่อไอเสีย โรงงาน PM2.5 หรือควันบุหรี่ส่งผลเสียต่อเซลล์ในระบบทางเดินหายใจ ทำให้เซลล์อักเสบและทำให้ระบบภูมิคุ้มในร่างกายกันอ่อนแอค่ะ
เป็นภูมิแพ้ ห้ามกินอะไร
อาหารที่เราชอบทานอาจผลทำให้อาการภูมิแพ้แย่ลง เนื่องจากอาหารบางประเภทจะส่งผลให้ร่างกายหลั่งสารฮีสตามีนค่ะ คนที่เป็นภูมิแพ้ควรหลีกเลี่ยงการทาน
- อาหารรสชาติเผ็ดร้อน
- อาหารที่ผ่านกระบวนการแปรรูป (Processed food) เช่น ฟาสต์ฟู้ด เฟรนช์ฟรายส์ อาหารกระป๋อง ขนมกรุบกรอบ
- คาร์โบไฮเดรตที่ผ่านการขัดสี (Refined Carbohydrates) เช่น ข้าวขาว ขนมปังขัดสี น้ำเชื่อม ขนมจำพวกเบเกอรี่
- เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
ทั้งนี้ ไม่ได้แปลว่าคนที่เป็นภูมิแพ้จะต้องห้ามกินอาหารพวกนี้ แต่หากลดได้ก็จะเป็นผลดีค่ะ
เป็นภูมิแพ้ ควรดูแลรักษาตัวเองอย่างไร
1. หลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้ และใช้ยาอย่างถูกวิธี
2. ดูแลร่างกายให้แข็งแรงด้วยการออกกำลังกาย ทานอาหารที่มีประโยชน์ และพักผ่อนให้เพียงพอ
3. สังเกตตัวเองว่า ร่างกายมีอาการแพ้กับอาหารหรือสสารอะไร เนื่องจากเราสามารถเกิดอาการแพ้กับสิ่งใหม่ ๆ ได้ตลอด
4. ตรวจหาสารก่อภูมิแพ้: การตรวจหาสารก่อภูมิแพ้โดยทั่วไปจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทค่ะ
- การตรวจหาสารก่อภูมิแพ้โดยการสะกิดผิวหนัง (Skin prick test) เป็นการตรวจที่ครอบคลุมสารก่อภูมิแพ้ทั่วไป ทำได้อย่างรวดเร็วโดยการสะกิดผิวหนังบริเวณแขน เพื่อตรวจว่าร่างกายของเรามีปฏิกริยากับสารก่อภูมิแพ้ตัวไหนบ้าง
- การตรวจหาสารก่อภูมิแพ้โดยการเจาะเลือด (Allergy blood test) เป็นการตรวจที่เฉพาะเจาะจงและ ตรวจหาสารก่อภูมิแพ้ได้มากกว่า skin prick test อีกทั้งยังปลอดภัยกว่าเนื่องจากร่างกายไม่ต้องสัมผัสกับสารก่อภูมิแพ้โดยตรง
เพื่อป้องกันอาการแพ้รุนแรง และยืนยันสาเหตุของอาการแพ้คุณสามารถเข้า ตรวจสารก่อภูมิแพ้ในอาหารและอากาศ ที่ EY Clinic ได้ค่ะ โดยการโปรแกรมการตรวจนี้จะช่วยระบุสารก่อภูมิแพ้เฉพาะที่อาจก่อให้เกิดอาการ เช่น ลมพิษ หรืออาการคัน และช่วยให้คุณทำความเข้าใจเกี่ยวกับอาการแพ้เฉพาะของตัวเองและวิธีจัดการรับมือได้อย่างเหมาะสมค่ะ
โปรแกรมการ ตรวจสารก่อภูมิแพ้ในอาหารและอากาศ ที่ EY Clinic ราคา 3,499 บาท ประกอบไปด้วย
- การตรวจร่างกายโดยแพทย์ (Physical Examination)
- การตรวจสารก่อภูมิแพ้ในอาหาร 22 ประเภท และภูมิแพ้ทางระบบทางเดินหายใจ 14 ประเภท (Specific IgE Immunoblot)
- การรายงานผล (Check up Report)
นอกจากนี้หมอยังจะให้คำปรึกษาเกี่ยวกับวิธีปรับเปลี่ยนอาหารและพฤติกรรมเพื่อลดความถี่และความรุนแรงของการแพ้ด้วยค่ะ
ตรวจภูมิแพ้ ดูแลตัวเองแบบรอบด้านที่ EY Clinic
โปรแกรมการตรวจสารก่อภูมิแพ้เป็นหนึ่งในบริการทางด้าน Wellness ของ EY Clinic ซึ่งมุ่งเน้นในการในการเสริมสร้างและฟื้นฟูสุขภาพของคุณให้แข็งแรง นำทีมโดย หมอโบว์ แพทย์เฉพาะทางเวชศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟู (American Academy of Anti-Aging) ทุกโปรแกรมของเราจะดำเนินการโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ มีการรักษาและให้คำแนะนำอย่างเฉพาะเจาะจงที่ตัวบุคคล และไม่มีการยัดเยียดขายคอร์สหรืออาหารเสริมให้กับคุณแน่นอนค่ะ
เราดูแลทุกคนอย่างใส่ใจและสุดความสามารถ เข้ามาพูดคุยกับหมอโบว์ได้ที่ EY Clinic ค่ะ
บทความนี้ได้รับการตรวจความถูกต้องของเนื้อหาโดยแพทย์เฉพาะทางด้านเวชศาตร์ชะลอวัยแล้ว
ในบทความนี้ หมอจะพูดถึงสารพิษหรือสารโลหะหนักที่เราต้องเจอในชีวิตประจำวันค่ะ ไปทำความรู้จักสารพิษที่ปนเปื้อนอยู่ในอาหาร น้ำและอากาศ อาการเมื่อร่างกายได้รับสารพิษ และวิธีการล้างสารพิษในร่างกายที่ทำได้ง่าย ๆ เพียงเปลี่ยนเลือกทานอาหารที่ถูกต้องค่ะ
5 สารพิษที่พบบ่อยในสิ่งแวดล้อมรอบตัวเรา
ก่อนจะไปเรียนรู้วิธีการล้างสารพิษในร่างกาย เรามาทำความรู้จักสารพิษ 5 อย่างที่พบบ่อยในสิ่งแวดล้อมรอบตัวเรากันก่อนค่ะ
ตะกั่ว (Lead, Pb) พบได้ในแหล่งอุตสาหกรรม แต่ก่อนพบมากในสีทาบ้าน และน้ำมัน ปัจจุบันมักปะปนอยู่ในน้ำและดิน มีผลต่อระบบประสาทและการรับรู้
ปรอท (Mercury, Hg) พบมากให้แห่งอุตสาหกรรมที่มีการเผาไหม้เชื้อเพลิงถ่านหิน และอุตสาหกรรมพลาสติก ปะปนอยู่ในธรรมชาติ และอาจถูกบริโภคโดยสัตว์ต่าง ๆ ทำให้วัตถุดิบที่เรานำมาประกอบอาหารปนเปื้อนไปด้วย โดยเฉพาะเนื้อปลา เมื่อสะสมในร่างกายจะมีผลต่อระบบประสาท และรบกวนการทำงานของไต
สารหนู (Arsenis, As) พบได้ทั่วไปตามธรรมชาติ ทำให้เราสามารถรับสารหนูในปริมาณน้อยเข้าสู่ร่างกายได้โดยไม่รู้ตัว สารหนูยังสามารถพบได้ให้ข้าวสาร อาหารทะเล และ แหล่งน้ำใต้ดิน ผลกระทบของมีสารหนูสะสมในร่างกาย ได้แก่ แผลบนผิวหนัง ผิวหนังหนาตัวขึ้นบริเวณฝ่ามือและฝ่าเท้า ไปจนถึงโรคมะเร็งผิวหนัง
อะลูมิเนียม (Aluminium, Al) พบมากในดิน แหล่งน้ำ และละอองฝุ่น โดยเฉพาะในพื้นที่อุตสาหกรรมและเกษตรกรรม หากมีอะลูมิเนียมอยู่ในร่างกายจำนวนมากจะส่งผลต่อโครงสร้างของกระดูกและระบบประสาท
แคดเมียม (Cadmium, Cd) พบมากให้แบตเตอรี่ พลาสติก ยางและยาสูบ หากสะสมอยู่ในร่างกายเป็นจำนวนมากจะส่งผลกระทบต่อการทำงานของปอด ไต และกระดูก
เราจะเห็นไปว่าสารพิษเหล่านี้ปะปนอยู่ในสิ่งรอบตัวเรา ทำให้เราสามารถรับสารพิษเข้าร่างกายได้ในชีวิตประจำวัน ถึงจะรับในปริมาณน้อย แต่เมื่อเวลาผ่านไป สารพิษเหล่านี้ก็สามารถสะสมและส่งผลเสียต่อร่างกายของเราได้ค่ะ
สังเกตตัวเอง: อาการเมื่อได้รับสารพิษเข้าสู่ร่างกาย
อาการของร่างกายเมื่อได้รับสารพิษ หรือมีสารพิษตกค้างในร่างกายสามารถแสดงออกได้หลายลักษณะ และอาการเหล่านี้ก็ย่อมขึ้นอยู่กับชนิดของสารพิษ ปริมาณ และความเสี่ยงของแต่ละบุคคล ซึ่งอาการของการได้รับสารพิษที่พบได้บ่อย มีดังนี้ค่ะ
อาการทางระบบย่อยอาหาร
- ปวดท้อง มวนท้อง
- คลื่นไส้ อาเจียน
- ท้องอืด หรือท้องเสีย
อาการทางระบบประสาท
- ขาดสมาธิ มีปัญหาทางด้านความจำและการเรียนรู้
- รู้สึกเมื่อยล้าและขาดพลังงาน
- มีอาการมือสั่น
- มีอาการชาปลายมือ หรือปลายเท้า
อาการทางระบบกล้ามเนื้อ
- ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
อาการอื่น ๆ
- ปวดหัว เวียนหัว รู้สึกมึนงง
- มีผื่น หรือแผลบนผิวหนัง
- ผมร่วง
- อารมณ์แปรปรวน
- มีปัญหานอนไม่หลับ นอนหลับไม่สนิท
เห็นได้ชัดเจนว่าอาการของการได้รับสารพิษเข้าสู่ร่างกายนั้นไม่เฉพาะเจาะจง และไม่ค่อยรุนแรงจึงอาจจะทำให้เรามองข้ามไปได้ค่ะ วิธีที่จะรู้ได้ถึงชนิดและปริมาณสารพิษที่ตกค้างอยู่ในร่างกายคือ การตรวจหาโลหะหนักในเลือดหรือปัสสาวะค่ะ แต่หลายคนอาจจะไม่รู้ว่า แค่เปลี่ยนมากินอาหารที่ถูกต้องก็สามารถช่วยล้างสารพิษในร่างกายได้ค่ะ
4 วิธีล้างสารพิษในร่างกาย ด้วยการทานอาหาร
ล้างสารพิษในร่างกายด้วยการทานผักใบเขียว
การเลือกทานผักมากขึ้นสามารถช่วงล้างสารพิษในร่างกายของเราได้ค่ะ เนื่องจากคลอโรฟิลล์ (Chlorophyll) ในผักสรรพคุณในการล้างสารพิษในตับ ช่วยเพิ่มระดับออกซิเจนในเลือด และยังเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ยอดเยี่ยมด้วยค่ะ
หันมาเริ่มทาน บีทรูท
บีทรูทอุดมไปด้วยบีเทน (Betaine) ซึ่งเป็นสามารถช่วยดึงสารพิษจากลำไส้และขับถ่ายออกจากร่างกายก่อนจะถูกดูดซึมเข้ากระแสเลือด ซึ่งคุณสามารถเลือกทานเป็นบีทรูทหั่นชิ้น หรือเป็นน้ำบีทรูทก็ได้ค่ะ
ล้างสารพิษในร่างกายด้วยวิตามินซี
วิตามินซีเป็นสารต้านอนุมูลอิสระเป็นตัวช่วยในการย่อยอาหารที่ดี การทานผักและผลไม้ที่อุดมไปด้วยวิตามินซีเป็นวิธีขับสารพิษออกจากร่างกายที่ทำได้ง่าย ๆ ค่ะ โดยเลือกทานผลไม้อย่าง มะนาว ส้ม เลม่อน ซึ่งเป็นผลไม้ตระกูลซีตรัส และพืชตระกูลกะหล่ำ อย่าง บร็อคโคลี่ กะหล่ำม่วง และแขนง เพื่อเพิ่มวิตามินซีให้กับร่างกายค่ะ
เลือกทานอาหารที่หลากหลาย
อย่างที่เรารู้กันว่าสารโลหะหนักหรือสารพิษหลายชนิดสามารถปนเปื้อนอยู่ในอาหารที่เราทาน ถึงจะอยู่ในปริมาณที่น้อย แต่หากเราทานอาหารซ้ำเดิมไปเรื่อย ๆ เมื่อเวลาผ่านไปสารพิษก็จะสะสมอยู่ในร่างกายของเราเป็นปริมาณมากค่ะ ฉะนั้นการเลือกทานอาหารที่หลากหลายจึงเป็นวิถีปฏิบัติที่ดีที่จะช่วยไม่ให้สารพิษสะสมค่ะ
ใส่ใจสุขภาพ ตรวจสารพิษในร่างกาย ที่ EY Clinic
นอกจากวิธีล้างสารพิษในร่างกายที่ทำได้ที่บ้านแล้ว สำหรับคนที่มีอาการคล้ายได้รับสารพิษในร่างกายที่หมอได้กล่าวไว้ หรือเป็นกลุ่มเสี่ยง อาทิ เช่น คนที่พักอาศัยอยู่ในพื้นที่ที่อาจะมีสารปนเปื้อน หรือคนที่ทานอาหารทะเลบ่อย สามารถเข้ามาตรวจสารโลหะหนักได้ที่ EY Clinic ค่ะ โดยโปรแกรมการตรวจนี้ช่วยให้จะตรวจพบการสัมผัสโลหะที่เป็นพิษได้ตั้งแต่เนิ่นๆ ช่วยวินิจฉัยและรักษาความเป็นพิษของโลหะหนัก เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนในระยะยาวค่ะ ในโปรแกรมตรวจจะประกอบได้ด้วย
- การตรวจร่างกายโดยแพทย์ (Physical examination)
- การตรวจหาสารโลหะหนักในร่างกาย 9 ชนิด: ตะกั่ว (Pb) , ปรอท (Hg) , แคดเมียม (Cd) , แมงกานีส (Mn) , โครเมียม (Cr) , โคบอลต์ (Co) , นิกเกิล (Ni) , สารหนู (As) , อะลูมิเนียม (Al) ด้วยวิธี ICP-MS
- รายงานผลการตรวจ (Report Check-up)
แพคเกจนี้จะอยู่ในราคา 3,999 บาท
โดยจะมีหมอโบว์ เป็นคนดูแลวางแผนการรักษาเฉพาะบุคคล และมีการติดตามผลการรักษาเพื่อประเมินความคืบหน้าด้วยค่ะ
โปรแกรมตรวจสารโลหะหนังในร่างกายเป็นบริการด้านเวชศาสตร์ป้องกันและฟื้นฟูของ EY Clinic ซึ่งให้ความสำคัญกับความเป็นอยู่ที่ดี (Wellness) ของคุณค่ะ และยังมีโปรแกรมการตวรจหาสารก่อภูมิแพ้ในอากาศและอาหาร IgE, การตรวจภูมิแพ้แผง IgG, การตรวจระดับฮอร์โมนสำหรับทั้งผู้หญิงและผู้ชาย และการตรวจระดับวิตามินในร่างกายด้วยค่ะ ใครที่อยากเริ่มต้นดูแลตัวเองและอยากได้คำปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ แวะมาพูดคุยกับหมอโบว์ที่ EY Clinic ได้ค่ะ
บทความนี้ได้รับการตรวจความถูกต้องของเนื้อหาโดยแพทย์เฉพาะทางด้านเวชศาตร์ชะลอวัยแล้ว